สาเหตุที่ไม่สนใจเรียนในชั้นเรียนเป็นเพราะพวกเขาสนใจการเรียนพิเศษมากกว่า และเด็กส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าเรียนพิเศษเท่านั้นจึงจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้
“คุณเชื่อไหม เด็กบางคนไม่เรียนในชั้นเรียนเลย คุณครูก็ไม่ว่าอะไร เพราะถึงเวลาเด็กเหล่านี้ก็สามารถทำข้อสอบได้ เพราะเป็นเด็กหัวดี เหมือนกับว่าเด็กที่สอบเข้ามาเรียนที่นี่ได้ก็ต้องถือว่าเป็นเด็กหัวกะทิ ฉะนั้น คุณครูก็จะไม่ค่อยว่าอะไร ตัวเด็กเองก็ไม่ค่อยสนใจในชั่วโมงเรียน แต่เชื่อมั่นในโรงเรียนกวดวิชามากกว่า”
คำถามที่ตามมาทำไมเด็กถึงไม่สามารถเรียนในระบบโรงเรียนปกติได้อย่างเพียงพอ ทำไมเด็กขาดความเชื่อมั่นในระบบ และหันไปพึ่งการศึกษาในโรงเรียนกวดวิชากันอย่างบ้าระห่ำ
แล้วโรงเรียนกวดวิชาเองก็ขยายตัวราวดอกเห็ดเพื่อรองรับเด็กที่นับวันก็อายุน้อยลงเรื่อยๆ
แต่ถึงขนาดเป็นวัฏจักรที่ว่าเด็กนักเรียนระดับประถมและมัธยมต้นต้องแห่กันเรียนกวดวิชา เพื่อให้สามารถสอบเข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในระดับมัธยมปลาย เพื่อเป้าหมายสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐให้ได้
แต่..ไฉนพอเด็กเหล่านั้นสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลายที่มีชื่อเสียงได้สำเร็จ วงจรอุบาทว์ก็ยังอยู่ เด็กก็ยังเรียนกวดวิชากันระห่ำอยู่ดี และไม่สนใจการเรียนในชั้นเรียน เพราะอะไรล่ะ ถ้าไม่ใช่เพราะเด็กไม่เชื่อมั่นในระบบ
สิ่งที่ตามมาก็คือ ด้วยทิศทางแบบนี้ การศึกษาในบ้านเรากำลังผลิตเด็กแบบไหนออกสู่สังคมกันแน่..!!
แล้วเมื่อไรผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและคนที่เป็นเจ้ากระทรวงจะยอมรับเสียทีว่าการศึกษาไทยในระบบมีปัญหา..!!
ทำไมลูกคนมีเงินหรือคนชั้นกลางถึงส่งลูกไปในโรงเรียนจุดเริ่มต้นของชีวิตด้วยโรงเรียนการศึกษาทางเลือกมากขึ้นอย่างชัดเจน
ปัจจุบันเด็กนักเรียนในเมืองและชนบทมีความทุกข์จากระบบการศึกษาไม่ต่างกัน คือต้องเรียนกวดวิชาตั้งแต่ชั้นอนุบาล และเมื่อเข้าสู่ประถม มัธยม ก็ยิ่งต้องกวดวิชามากขึ้นเรื่อยๆ
หรือว่าระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยมีปัญหากันแน่ ทำไมเปลี่ยนระบบแล้วยิ่งทำให้เด็กยิ่งต้องไปเรียนในโรงเรียนกวดวิชามากขึ้น
รวมถึงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่ได้วางแผนการศึกษาแบบองคาพยพหรือบูรณาการทุกมิติให้การศึกษาไทยผลิตเด็กที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ทั้งยังไม่มีนโยบายพัฒนาครูผู้สอนอย่างเป็นระบบ มีแต่ให้เครื่องมือ แต่ไม่ได้ให้องค์ความรู้ ไม่สนใจว่าครูผู้สอนจะรับไหวหรือไม่ แล้วจะเอาอย่างไรกับเป้าหมายปลายทางว่าต้องการให้เด็กและเยาวชนของชาติเป็นอย่างไร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น